GIS Basic จะเป็นการกล่าวถึงเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ Geographic Information System ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือตามตำแหน่งที่ตั้ง
- Geographic – คือการระบุตำแหน่งพื้นที่ที่ไหนสักแห่งในโลกใบนี้
- Information – คือข้อมูลต่าง ๆ
- System – คือระบบ
ภาษาไทยใช้คำว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ อธิบายความหมายยาวเยียดว่า คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) – Geographic กับ ข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) – Information หรือ สารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กัน
คนส่วนใหญ่ พอพูดถึง GIS มักจะนึกถึงแผนที่ ใช่! จะคิดอย่างนั้นก็ไม่ผิด เพราะแผนที่เป็นหัวใจสำคัญของ GIS แต่ มันจะเป็นมากกว่าแผนที่ เพราะมันคือแผนที่ชุบแป้งทอด!
ไม่ใช่ละ
เนื้อหาโดยรวม :)
GIS Basics
ถ้าจะให้อธิบายแบบง่าย ๆ ก็ขอให้คิดว่ามันเหมือนกับแผนที่ดิจิทัลที่โต้ตอบและจัดการได้ หรือ มันก็คือ แผนที่อัจฉริยะ! คือเป็นแผนที่ที่มากกว่าแผนที่ เพราะมันเก็บข้อมูลอื่น ๆ รวมเอาไว้ด้วย และข้อมูลเหล่านั้น จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานมองเห็นภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้น
พูดถึงแผนที่ ซึ่งอยู่คู่มนุษยชาติมาไม่รู้ว่านานนักหนาเท่าไหร่แล้ว แต่เมื่อก่อนนี้ เวลาเราทำแผนที่บนกระดาษ เราไม่อาจใส่ข้อมูลที่มากมายมหาศาล หรือเปลี่ยนข้อมูลได้บ่อย ๆ เพราะสิ่งที่เราทำได้ก็เพียงแค่ขีดฆ่า แก้ไข หรือไม่ก็วาดแผนที่ขึ้นมาใหม่
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้ทุกวันนี้เรามีซอฟต์แวร์ทำแผนที่เกิดขึ้นมากมาย และทำได้ยิ่งไปกว่านั้น ลองนึกถึงเวลาเราเปิดกูเกิลแม็ป มันไม่ได้มีแค่ภาพเส้นทาง ตำแหน่ง แต่ยังมีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ความหนาแน่นการจราจร สิ่งนี้ก็คือ “แผนที่อัจริยะ” ซึ่งกลายเป็นเรื่องมาตรฐานที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน
นอกจากนั้น GIS จะช่วยให้เห็นและเข้าใจข้อมูลในบริบทเชิงพื้นที่ เช่น คุณสามารถใช้ GIS เพื่อทำแผนที่ตำแหน่งของเหตุการณ์อาชญากรรมในเมืองและวิเคราะห์รูปแบบอาชญากรรมในพื้นที่ต่างๆ คุยังสามารถใช้ GIS เพื่อวิเคราะห์การกระจายพันธุ์ของสัตว์ป่าหรือเพื่อวางแผนเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับถนนสายใหม่
GIS มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ก่อนหน้านั้น มีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่สามารถซื้อคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสำหรับใช้งานมันได้
เวลาเปลี่ยนไป อะไรก็เปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ ใครก็ตามที่มีคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ GIS ได้ และซอฟต์แวร์เหล่านี้ใช้งานง่ายมากขึ้นทุกที เมื่อก่อนกว่าจะทำงานกันได้ ต้องอบรมมากมาย แต่ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพด้วยซ้ำ แม้แต่ผู้ที่สนใจในระดับสมัครเล่น หรือเป็นงานอดิเรกก็เข้าถึง GIS ได้
ลักษณะการทำงานของ GIS จะเป็นการแสดงข้อมูลแสดงถึงแง่มุมต่างๆ ของโลกแห่งความจริง ชั้นเหล่านี้อาจรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น ถนน แม่น้ำ อาคาร และการใช้ที่ดิน ด้วยการรวมและวิเคราะห์เลเยอร์เหล่านี้ จะได้รับข้อมูลเชิงลึกว่าแง่มุมต่างๆ ของโลกมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร
เช่น ถ้าท่านเป็นคนทำผังเมือง ท่านอาจะต้องการข้อมูลความหนาแน่นประชากร เพศ การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ถนน ความหนาแน่นการจราจร สิ่งเหล่านี้ GIS ช่วยรวมข้อมูลและแสดงให้เห็นได้
หรือในช่วงโควิดระบาดในช่วง 2563 – 2565 เราก็ใช้ GIS ในการติดตามและวางแผน
- ตัวอย่าง 1 จาก ESRI Thailand
- ตัวอย่างเพิ่มเติม Application of Geographic Information System in Monitoring and Detecting the COVID-19 Outbreak
สำหรับบล็อกในชุด “GIS Basics” จะอธิบายเรื่องพื้นฐาน ไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ แต่เป็นวิธีจัดการและใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีสร้างแผนที่ดิจิทัล และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
GIS Software
มนุษยชาติรู้จักการทำแผนที่มาเนิ่นนานนักหนาแล้ว แต่เมื่อก่อนนี้ เวลาเราทำแผนที่บนกระดาษเราไม่อาจใส่ข้อมูลที่มากมายมหาศาล หรือเปลี่ยนข้อมูลได้บ่อย ๆ เพราะสิ่งที่เราทำได้ก็เพียงแค่ขีดฆ่า แก้ไข หรือไม่ก็วาดแผนที่ขึ้นมาใหม่
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้ทุกวันนี้เรามีซอฟต์แวร์ทำแผนที่เกิดขึ้นมากมาย และทำได้ยิ่งไปกว่านั้น ลองนึกถึงเวลาเราเปิดกูเกิลแม็ป มันไม่ได้มีแค่ภาพเส้นทาง ตำแหน่ง แต่ยังมีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ความหนาแน่นการจราจร สิ่งนี้ก็คือ “แผนที่อัจริยะ” อย่างที่บอกในตอนต้น ซึ่งกลายเป็นเรื่องมาตรฐานที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน
ส่ย้อนกลับมาที่ GIS สิ่งสำคัญในการสร้างสิ่งเหล่านี้ก็คือ ซอฟต์แวร์ ซึ่งจะช่วยให้ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์และทำงานต่างๆ เช่น การทำแผนที่ การวิเคราะห์ และการจัดการข้อมูล มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด บ้างก็ค่อนข้างแพง แต่ก็มีของฟรีเป็นทางเลือกเช่นกัน การเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมไม่มีมาตรวัดที่แน่นอน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความชอบส่วนตัว แต่ DataRevol.com ขอแนะนำ QGIS! ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดาวน์โหลดและแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงานได้มากเท่าที่ต้องการ
ภาพรวมของซอฟต์แวร์ด้านนี้จะไม่แตกต่างกันนัก หลัก ๆ ก็จะมีการแสดงชั้นแผนที่ (เลเยอร์ – Layer) แต่ละชั้นแสดงถึงสิ่งที่ระบุตำแหน่งได้โลกนี้ เช่น เครือข่ายถนน หรือที่ตั้งของอาคาร
เลเยอร์จะเป็นกราฟิกในมุมมองแผนที่ จะเพิ่มเลเยอร์เข้าไปได้หลายเลเยอร์ ซึ่งจะซ้อนทับกัน สามารถ ซูมและแพน เปลี่ยนมุมมองแผนที่เพื่อดูพื้นที่ต่าง ๆ และสิ่งนี้ทำให้แตกต่างจากแผนที่กระดาษ ท่านสามารถจัดลำดับใหม่ ซ่อน แสดง และจัดกลุ่มเลเยอร์ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปได้เสมอ
แต่มันจะไม่ได้เป็นแค่ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างแผนที่เท่านั้น ถึงแม้ว่าแผนที่จะเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งก็ตาม แต่สำหรับ GIS สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ Geographic ก็คือ Information หรือข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์กับสถานที่ต่าง ๆ หมายความว่า ท่านสามารถเปลี่ยนรูปลักษณ์ของแผนที่ตามข้อมูลที่จัดเก็บได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างเช่น แสดงแผนที่ตามจำนวนประชากร เพศ จำนวนอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ภัยพิบัติ
ประเภทข้อมูล
เมื่อพูดถึงข้อมูล สิ่งที่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ต้องทำงานด้วยก็มีสองประเภทหลัก: เวกเตอร์ Vector กับ ราสเตอร์ Raster ข้อมูลเวกเตอร์ประกอบด้วยจุด เส้น และรูปพื้นที่หลายเหลี่ยม ที่แสดงถึงลักษณะต่าง ๆ ในโลก เช่น ถนน อาคาร และแม่น้ำ ในทางกลับกัน ข้อมูลราสเตอร์ คือ ภาพถ่ายประกอบด้วยตารางพิกเซลที่แสดงถึงสิ่งต่างๆ เช่น ระดับความสูง อุณหภูมิ หรือภาพถ่ายจากดาวเทียม
นอกจากนี้ จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลทางภูมิศาสตร์กับข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ ตัวอย่างเช่น แผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากร อาจมีข้อมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ หรือรายได้ ข้อมูลเพิ่มเติมนี้ช่วยให้เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ในข้อมูลที่อาจไม่ชัดเจนในทันทีจากภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว
GIS Basics ตอนต่อไปจะพูดถึงเรื่อง Vector