การคำนวณเนื้อที่ Polygon ของ shapefile ใน ArcGIS เป็นเรื่องง่ายดาย เพียงคลิกไม่กี่ครั้งก็ได้แล้ว
คุณสมบัติที่ดีงามของ shapefile ประการหนึ่งก็คือมันสามารถแสดงค่าของความยาว ระยะทาง เส้นรอบวง หรือ พื้นที่ของ polygon ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่ามันคือลักษณะทางเรขาคณิต โดยใน ArcMap จะมีเครื่องมือคำนวณเรขาคณิตอยู่ เรียกว่า Calculate Geometry tool ซึ่งเป็นเครื่องมือในการคำนวณค่าพิกัดความยาวและพื้นที่โดยขึ้นอยู่กับรูปทรงเรขาคณิตของชั้นข้อมูล คือ ถ้าเป็น polygon ก็ใช้คำนวณพื้นที่ หรือความยาวเส้นรอบวง ถ้าเป็น line ก็คำนวณความยาวเส้น
เนื้อหาโดยรวม :)
การคำนวณเนื้อที่ Polygon
สำหรับเนื้อที่ซึ่งโปรแกรม ArcGIS คำนวณให้ จะออกมาเป็นตารางเมตร หรือตารางกิโลเมตร ตามแต่จะเลือก ซึ่งในระบบเนื้อที่ของไทยจะเป็น ไร่-งาน-ตารางวา ก็ต้องนำไปคำนวณอีกครั้งหนึ่ง
การคำนวณเนื้อที่นี้ไม่จำเป็นต้องเข้า edit mode แต่โดยส่วนตัวแนะนำว่า ถ้าอยากจะ “ปลอดภัยไว้ก่อน” หรืออะไร เข้า edit mode ไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะถ้าไม่เข้า edit mode คือจะไม่สามารถ undo หรือ แก้ไขอะไรที่ปรากฏอยู่ในฟิลด์นั้นได้ แต่ถ้าเข้า edit mode ผิดพลาดอะไรก็สามารถปิดโดยไม่ save ได้ ย้อนกระบวนการได้ น่าจะยืดหยุ่นกว่า แต่ถ้าคิดว่าฟิลด์นั้นคำนวณผลอย่างเดียว ไม่ต้องเข้า edit mode ก็ได้
Edit Mode – Add Field
วิธีเข้า edit mode ก็คือคลิกที่เมนู Editor (ใน Editor toolbar) แล้วก็คลิก Start Editing (เวลาทำเสร็จอย่าลืม save ด้วยล่ะ)
เปิดตารางแอ็ตทิบิวท์ (Open Attribute Table) ถ้าไม่มีฟิลด์สำหรับแสดงค่าพื้นที่อยู่ก่อนให้ “add Field” แนะนำให้เลือก field type เป็น double ส่วนช่อง precision นี่คือทศนิยม ใส่สัก 2 หรือถ้าไม่ใส่ทศนิยมก็ใส่ 0 (ในตัวอย่างเพิ่มฟิลด์ชื่อ Area) แต่ถ้ามีช่องเนื้อที่อยู่ก่อนแล้วก็ใช้ฟิลด์นั้นไปเลยไม่ต้องเพิ่มอะไรใหม่
ทีนี้ก็มา คลิกขวาที่ฟิลด์ที่จะให้แสดงผลการคำนวณเนื้อที่ (ในตัวอย่างคือฟิลด์ชื่อ Area) เลือก calculate geometry หรือใช้คีย์ลัด CTRL+SHIFT+G
แต่ตรงนี้ถ้าใครทำงานในระบบ GCS (Geographic Coordinate System) เมื่อกด calculate geometry จะขึ้นสีเทาคลิกและใส่อะไรต่อไม่ได้ เพราะฟังก์ชันการคำนวณพื้นที่จะต้องเป็น PCS (Projected Coordinate System) เท่านั้น
calculate geometry
พอเลือก calculate geometry แล้วให้ดูตรงช่อง Property เลือก Area (เพราะจะให้คำนวณพื้นที่ แต่ถ้าจะคำนวณอย่างอื่นก็เลือกอย่างอื่น) แล้วก็เลือก Coordinate System ที่จะใช้คำนวณ เพราะบางทีเรานำ shapefile ที่มี Coordinate ต่างจาก Dataframe Property ที่ตั้งเอาไว้ ช่อง Unit เลือก Square Meter (ตารางเมตร)
แต่อันนี้ก็มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า สมมติ shapefile โดนตั้งค่ามาเป็น WGS 1984 เราคำนวณในระบบดาตั้ม 1984 แล้วได้ค่าหนึ่ง แต่พอแปลงค่าจาก 1984 มาเป็น Indian 1975 โดยการตั้งค่า data frame property อาจจะได้ค่าอีกอย่างหนึ่ง
หมายเหตุ ในกรณีที่ field ที่สร้างมาเป็น text จะเลือกให้เติมคำต่อท้าย เช่น sq m (ตารางเมตร) ได้จาก with the units abbreviation
เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย และเราสามารถเอาเนื้อที่เหล่านี้ ไปแปลงเป็น ไร่-งาน-วา ได้