Windows 10 มองไม่เห็น External Hard Drive ซะงั้น เสียหรือเปล่าหว่า? หรือว่ามันเป็นอะไรไป ซวยแล้ว…
เมื่อวานที่ทำงานได้คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่มาลงหลายเครื่อง เป็นรุ่นที่ใช้วินโดว์ 10 สเปคเครื่องอยู่ในระดับดีเหมาะกับการเล่นเกมส์ (อุ๊บป์)
แต่มีปัญหาว่าพอเอาเอ็กซ์เทอนัลฮาร์ดไดร์ฟมาเสียบแล้วมันไม่เห็นตัวฮาร์ดไดร์ฟซะงั้น
Windows 10 มองไม่เห็น External Hard Drive
ปัญหานี้มีทางเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น
- ยูเอสบีพอร์ตเสีย
- ไดร์เวอร์ใช้ไม่ได้
- ไฟเลี้ยงฮาร์ดไดร์ฟไม่พอ
- ฯลฯ
เจอปัญหาแบบนี้ลองเสียบยูเอสบีพอร์ตอื่น ๆ ถ้าพอร์ต (ช่อง) อื่นเสียบแล้วใช้ได้ แปลว่าพอร์ตนั้นคงนี้ปัญหา แต่ถ้าไม่ได้เหมือนกัน ลองเอาฮาร์ดไดร์ฟอื่นมาเสียบ ซึ่งเมื่อวานลองเอาแฟลชไดร์ฟมาเสียบก็อ่านได้ดี แต่พอเอาเอ็กซ์เทอนัลฮาร์ดไดรฟ์ตัวอื่นมาเสียบก็เหมือนเดิม แสดงว่าเป็นเรื่องของฮาร์ดไดรฟ์ หรือจะเป็นเพราะไฟไม่พอ
พอเปิด Device Manager ดูยูเอสบี (Universal Serial Bus Controller) ก็เห็นว่าปรกติ (วิธีเรียกโปรแกรมง่าย ๆ คือ คลิกเครื่องหมายค้นหาตรงมุมซ้ายล่าง แล้วพิมพ์ชื่อที่ต้องการหาไปตรง ๆ เลยเดี๋ยวขึ้นมาเอง) คำว่าปรกติหมายถึง เมื่อลองเสียบยูเอสบีก็เห็นไดร์ฟนั้นขึ้นมา และไม่มีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ขึ้นให้เห็น แปลว่าเครื่องคอมฯ เห็นว่ามีการต่อพอร์ตนี้อยู่ (ถ้าขึ้นเครื่องหมายอัศเจรีย์แปลว่าควรอัปเดตไดรเวอร์) เห็นอย่างนี้ก็รู้ทันทีว่าพอร์ตยูเอสบีในเครื่องปกติ แต่ที่ไม่ปรกติคือวินโดวส์ 10 ไม่รู้จักฮาร์ดดิสต์ในฐานะฮาร์ดดิสต์
เมื่อมันไม่รู้จักก็ต้องทำให้มันรู้จัก
วิธีนี้ได้มาจากเว็บของไมโครซอฟต์
ดิสต์แมเนจเมนต์ (Disk Management)
เหมือนเดิม พิมพ์คำว่า disk management ลงในช่องค้นหาที่มุมซ้ายล่าง หรือจะ พิมพ์ diskmgmt.msc ก็ได้เช่นกัน
ถ้าเป็นฮาร์ดดิสต์ที่ใช้อยู่แล้ว จะไม่เห็น Unallocated คือส่วนที่ยังไม่ได้ฟอร์แมต แต่ถ้าตรงนี้มีเยอะมาก ก็แสดงว่าเป็นดิสต์ที่ยังไม่ได้ฟอร์แมต จะฟอร์แมตก็ตามแต่ใจปรารถนา
แต่ถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติ เป็นฮาร์ดดิสต์ที่เคยใช้อยู่แล้ว จะเห็นว่ามีดิสต์อยู่ และยังไม่ได้โดนจัดลำดับ (C D E F ฯลฯ) คลิกขวาตรงนั้น เลือก Change Drive Letter and Paths แล้วเลือกอะไรก็ได้ที่ยังไม่ได้ใช้กับพาร์ติชันไหนเลย
เท่านี้ก็เรียบร้อยครับสาธุชน
โดยทั่วไป อาจต้องทำแบบนี้เมื่อเสียบฮาร์ดดิสก์ครั้งแรก แต่ถ้าหากว่าเสียบฮาร์ดดิสก์ลูกเดิม ช่องเดิม แล้วมีปัญหาแบบนี้ทุกครั้ง แสดงว่ามีปัญหาอื่นประกอบด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องคอมฯ ไม่รู้จักฮาร์ดดิสก์ เพราะ External Haddisk มักจะมีการเคลื่อนย้ายบ่อยอยู่แล้ว บางทีทำหล่นหรือกระแทก ใช้งานผิดวิธี ก็อาจทำให้พังเอาง่าย ๆ เพราะวิธีที่แก้นี้ไม่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์เสียหายแต่อย่างใด
เพราะหากฮาร์ดดิสก์เสียหายต่อคอมฯ แล้วมองไม่เห็น ก็ทำใจเลยว่าคงกู้ไฟล์ข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ยากหรือเสียไฟล์ในฮาร์ดดิสก์นั้นตลอดกาล ลองสังเกตดูว่าเวลาเปิดหรือต่อฮาร์ดดิสก์แล้วมีเสียงแกรก ๆ ดังผิดปกติหรือเปล่า เพราะเสียงนี้อาจหมายถึงหัวอ่านมันใกล้พังแล้ว หากใช้ต่ออาจส่งผลเสียต่อข้อมูลฮาร์ดดิสก์ได้ ควรรีบนำข้อมูลออกมาจากฮาร์ดดิสก์ไปที่ใหม่โดยเร็ว ดีกว่าปล่อยไห้ฮาร์ดดิสก์พังจริงๆ
เดี๋ยวนี้ผู้ผลิตบางรายจะออกประกันกู้ข้อมูลให้ ถ้าเอาไปเคลมกับผู้จำหน่ายตามปกติต้องนำทั้งตัวฮาร์ดดิสก์และกล่องไปพร้อมกัน ถ้าไม่ได้เก็บกล่องไว้อาจจะแย่หน่อย อย่างน้อยก็ควรเก็บเลข Serial ข้างกล่องเอาไว้
หากปัญหาเกิดขึ้นแล้วคิดว่าเป็นเพราะฮาร์ดดิสก์พัง ให้หยุดสแกนหรือแก้ไข เพราะอาจทำให้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เสียไปตลอดกาล ควรไปหามืออาชีพกู้ข้อมูลดีกว่า (ซึ่งจะแพงพอควรทีเดียว) หรือถ้าข้อมูลไม่สำคัญมากก็ทำใจทิ้งไปเถอะ