You are currently viewing SKU – Stock Keeping Unit

SKU – Stock Keeping Unit

SKU หรือ Stock Keeping Unit ตัวช่วยจำและแยกประเภทสินค้าแบบหนึ่งซึ่งบอกลักษณะสินค้าได้จากรูปแบบที่เก็บรหัสเอาไว้ ช่วยในการทำบัญชีสต็อกสินค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งคนเปิดร้านขายสินค้าน่าจะเรียนรู้เอาไว้เพื่อใช้ในการบริหารจัดการร้านของตัวเอง

SKU
Photo by Pixabay on Pexels.com

SKU VS UPCs

เนื่องจากปัจจุบันเราใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหลายเรื่องในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก จึงมีคนนำเอา Universal Product Code ซึ่งมักจะอยู่ในรูปบาร์โค้ดมาใช้เป็น Stock Keeping Unit ซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใด เอาที่สะดวก แต่โดยส่วนตัวจะไม่แนะนำให้ใช้แทนกันแบบนั้นเพราะบาร์โค้ดมักจะเป็นรหัสที่เหมาะสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ แต่ Stock Keeping Unit ออกแบบมาให้พนักงานขายมองเห็นแล้วเข้าใจได้ง่ายกว่าโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องยิงบาร์โค้ดยิงบาร์โค้ดแล้วอ่านข้อมูลจากคอมพิวเตอร์

และมีบางร้านใช้บาร์โค้ดหรือรหัสจากผู้ขายส่งมาใช้เป็นรหัสสินค้าในร้าน เรื่องนี้ก็ไม่แนะนำอีกเช่นกันเพราะถ้าทางฝ่ายผู้ขายส่งหรือผู้ผลิตเปลี่ยนรหัสจะยุ่งยากภายหลัง สู้เสียเวลาสักนิดทำรหัสของตัวเองใช้ดีกว่า ลองสังเกตโฆษณาสินค้าต่าง ๆ จะเห็นว่ารหัสสินค้าที่ใช้มักจะเป็น Stock Keeping Unit ทั้งสิ้น เพราะถ้าใช้ universal product code จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเอาไปเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เดียวกันในร้านค้าอื่น คือถึงจะเป็นสินค้าเดียวกัน เหมือนกัน แต่บางทีมันมีรายละเอียดปลีกย่อยไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่นโทรศัพท์รุ่นเดียวกัน สีเดียว แต่ความจุต่างกัน แทนที่จะให้ลูกค้าเอา universal product code ไปเปรียบเทียบกับร้านอื่นง่าย ๆ ให้ลูกค้ามาสอบถามหรือดูสินค้าด้วยตัวเองจะมีโอกาสปิดการขายได้ดีกว่า เราสามารถเพิ่มข้อเสนออื่น ๆ เข้าไปได้อีก

ทำไม SKU จึงสำคัญ

จุดประสงค์หลักของการใช้รหัสสินค้าก็เพื่อจำแนกสินค้าเพื่อช่วยในการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ตรวจสอบง่ายขึ้น บ่อยครั้งที่คนขายมีปริมาณสินค้ามากจะมีปัญหาเรื่องการระบุผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างทำให้เสียโอกาสในการประเมินสต็อกและผิดพลากเนื่องจากขาดข้อมูลที่ถูกต้อง

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เรามีสินค้าเป็นเสื้อยี่ห้อ Data Revol อยู่ ซึ่งมีขนาด (ไซส์) อยู่ 3 แบบคือ S M L แล้วคุณจำ (หรือบันทึก) แค่นี้ปัญหาจะเกิดอะไรขึ้น? คุณจะไม่รู้เลยว่าในแต่ละแบบที่ขายไป มีสีอะไรที่ขายดีเป็นพิเศษ การสั่งสต็อกเสื้อครั้งต่อไปอาจจะสั่งสินค้าที่ขายไม่ดีเกินมา และสั่งสินค้าขายดีน้อยเกินไปจนเสียโอกาส ซึ่งในชีวิตจริงประเภทของสินค้าที่คุณขายน่าจะมีจำนวนมาก และยิ่งสินค้ามีหลายประเภทหลายแบบก็ยิ่งต้องการการจัดเก็บบันทึกประเภทสินค้าแต่ละชนิดให้แสดงตัวตนออกมามากที่สุด

การแสดงตัวตนของสินค้าที่ว่าก็อย่างเช่น คุณมียี่ห้อสินค้า มีขนาด อาจจะต้องเติมด้วยรุ่นของเสื้อ สี เพื่อระบุเจาะจงไป เช่น เสื้อยี่ห้อ DataRevol ไซส์ L แขนยาว สีเขียว แบบนี้จะทำให้มองเห็นภาพมากขึ้นว่าสินค้าไหนขายดี ควรสั่งเพิ่ม หรือว่าชนิดไหนขายไม่ออก

หากคุณเป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ขายในหลายช่องทางเช่น วางขายหน้าร้าน ขายออนไลน์ทางเว็บของตัวเอง วางขายในเว็บ shopee Lazada ยิ่งควรใช้รหัสให้เหมาะสมกับสินค้า เนื่องจากเมื่อรวมปริมาณการขายผ่านทุกช่องทางอาจจะได้ผลลัพธ์แบบหนึ่ง แต่มันอาจจะมีรายละเอียดซ่อนอยู่ว่าสินค้าประเภทใดขายในช่องทางใดได้มากกว่ากันหรือไม่ ทั้งยังช่วยในเรื่องเก็บรักษาสต็อคที่แตกต่างกันไปตามแต่ละผลิตภัณฑ์อีกด้วย

แนวทางการสร้างรหัส

ร้านค้าแต่ละรายสร้างรหัสของตัวเองได้ตามความเหมาะสมของสินค้า คำแนะนำในการสร้างคร่าว ๆ ก็คือ

  • อย่าใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขเยอะ 4 – 12 อักขระกำลังดี
  • อย่าเริ่มต้นโค้ดด้วย O มันจะสับสนกับ ศูนย์ และ โอ
  • อย่าใช้ตัวอักขระที่จะทำให้คนหรือซอฟต์แวร์สับสน

เช่น เสื้อยืด Data Revol แขนยาว ไซส์L สีเขียว อาจจะใส่รหัสเป็น

DR-TSL-L-GN

คือ DR= ยี่ห้อ Data Revol  TSL = เป็นเสื้อยืดแขนยาว L=ไซส์ L และ GN = สีเขียว

ยกตัวอย่างอีกอันก็แล้วกัน สมมติร้านขายรองเท้า อาจจะตั้งรหัส โดยเริ่มที่ประเภทรองเท้าชาย/หญิง ต่อด้วยรูปแบบ (ลำลอง/เป็นทางการ) สี หรือวัสดุ แบบนี้ก็ได้ คือคนออกแบบ SKU จะต้องรู้ก่อนว่าตัวเองขายอะไร และจะใช้อะไรเป็นตัวจัดหมวดหมู่สินค้า

ลองนึกว่าถ้าหากลูกค้าสัก 10 คนซื้อสินค้าคล้ายคลึงกัน (อาจจะเป็นเสื้อยืดแบบเดียวกัน แต่คนละสี) คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสีไหนขายดี? หรือ อาจจะคนละลายที่แตกต่างกันนิดหน่อย คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าลายไหนขายดีกว่าลายอื่น? ลองจินตนาการแบบนั้นในการสร้างรหัส เพื่อช่วยให้การติดตามสินค้าสะดวกรวดเร็ว และวางแผนได้ง่ายขึ้นว่าจะเอาสินค้าตัวไหนมามากขึ้นหรือน้อยลง

ถ้าสร้างรหัสขึ้นอย่างมีหลักการ จะช่วยให้คุณจัดการสินค้าคงคลังได้ดีขึ้น สามารถติดตามการขายได้ง่ายขึ้น

หลักการมีสั้น ๆ คือ ออกแบบให้อ่านเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการแกะโค้ด ให้พนักงานที่ทำงานทุกคนอ่านแล้วเข้าใจว่ารหัสหมายถึงอะไรจากการมองรหัสไม่ต้องยิงบาร์โค้ดหรือเดินไปเปิดสมุดบันทึกว่ารหัสเหล่านี้หมายถึงอะไร

Stock Keeping Unit ไม่ใช่ Universal Product Codes (UPCs) เพราะจุดมุ่งหมายคือใช้เป็นการภายในของร้านแต่ละร้าน ซึ่งบางร้านเลือกที่จะใช้ UPCs ในการติดตามสินค้าแทน แต่ร้านค้าส่วนใหญ่ แม้แต่ร้านซื้อสะดวกใหญ่ ๆ ก็ยังใช้ ด้วยความที่มันใช้ง่าย กำหนดได้สะดวก และติดตามการขายและการจัดเก็บสินค้าได้ง่ายมากนั่นเอง

และอย่าลืมว่าจุดมุ่งหมายสำคัญของการสร้างรหัสนี้ก็คือจัดการสินค้าคงคลัง ช่วยให้ติดตามสินค้าได้ง่ายและช่วยให้เจ้าของธุรกิจจัดการบัญชีในธุรกิจไม่ว่าจะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ยิ่งถ้านำไปประยุคต์ใช้กับระบบดิจิทัล ด้วยการกำหนดรหัสที่อ่านได้ด้วยบาร์โค้ด หรืออื่น ๆ เพื่อดึงข้อมูลของสินค้า ราคา และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ก็ยิ่งได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น


Discover more from Data Revol

Subscribe to get the latest posts sent to your email.