EURion constellation หรือ กลุ่มดาวยูไรอัน กลายเป็นประเด็นเรื่องความปลอดภัยในธนบัตรที่ระลึกสำหรับพระราชพิธีฉัตรมงคลประจำปี 2562 เผยแพร่ให้ใช้ในระบบตั้งแต่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีคนสังเกตว่า มันไม่มี EURion ตามด้วยคนโวยวายว่า ทำแบบนี้ได้อย่างไร ทำไมหละหลวมแบบนี้ ก็ว่ากันไปตามดีกรีความรุนแรง
EURion constellation
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจเรื่อง กลุ่มดาวยูไรอัน ก่อน ดีมั้ย เอาลิงก์วิกิพีเดียไปอ่านก่อนก็แล้วกัน แต่สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านภาษาอังกฤษ DataRevol.com จะสรุปสั้น ๆ ว่า
กลุ่มดาวยูไรอัน หรือ แหวนออมรอน (Omron rings) เป็นรูปแบบการวางสัญลักษณ์ในเอกสารสำคัญ (รวมถึงธนบัตร) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1996 โดยเป็นเทคโนโลยีสากล ที่จะตั้งค่าซอฟต์แวร์ป้องกันการปลอมแปลงทำสำเนาเอกสารเหล่านั้น
อย่างเช่น ถ้าเอาธนบัตรที่มีกลุ่มดาวยูไรอันนี้ประทับอยู่ ไปเข้า Adobe Photoshop มันจะขึ้นเตือนแบบนี้
ซึ่งพอคลิก information ก็จะเด้งไปที่ Central Bank Counterfeit Deterrence Group | CBCDG (rulesforuse.org)
แต่พอเอาธนบัตรที่ระลึกใหม่เข้าไป เว้ย เข้าได้จ้ะ
แบบนี้ก็ไม่ปลอดภัยสินะ!!
อันนี้แหละที่เสร้างความกังวลว่าธนบัตร 100 บาทแบบใหม่ ไม่ได้พิมพ์ กลุ่มดาวยูไรอัน เอาไว้ ทำให้มันไม่ปลอดภัย จะโดนทำสำเนาและสร้างธนบัตรปลอมได้ง่ายขึ้น
ธนบัตรที่ออกใหม่ ไม่มีกลุ่มดาวยูไรอันนี้ประทับอยู่ กลายเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ อย่างเช่น
https://voicetv.co.th/read/TCuH7jN-v
https://www.beartai.com/news/it-thai-news/512935
https://www.facebook.com/groups/FreeYOUTHth/permalink/3680144118734129
ซึ่งทาง เฟซบุ๊กของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกมาชี้แจงแล้วว่า มันมีวิธีอื่นอีกนะ ที่จะช่วยป้องกันการปลอมแปลง
Counterfeit Deterrence System
ข้อเท็จจริง เทคโนโลยี กลุ่มดาวยูไรอัน เป็นเรื่องเก่าไปแล้วสำหรับปัจจุบัน สมัยที่ออกแบบมานั้นแค่ป้องกันการทำสำเนาโดยเครื่องถ่ายเอกสารในสำนักงานเป็นหลัก
มาตรฐานเหล่านี้เป็นมาตรฐานสากลร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการเทคโนโลยีดิจิทัลปลอมแปลงธนบัตร คณะผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G10 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น สวีเดน อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ (จริง ๆ มี สวิตเซอร์แลนด์ เป็นสมาชิกอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มด้วย) ได้จัดตั้ง กลุ่มธนาคารกลางเพื่อการป้องกันการผลิตเงินปลอม (Central Bank Counterfeit Deterrence Group (CBCDG) ซึ่งออกมาตรฐานระบบป้องกันการทำเงินปลอมขึ้นมา บริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์หลายแห่งได้นำระบบนี้ไปใช้โดยความสมัครใจ
และที่ Adobe ตรวจจับ ไม่ใช่แค่กลุ่มดาวยูไรอันนี้เท่านั้น ส่วนใหญ่ที่ตรวจจับจะเป็นลายน้ำของ Digimarc ที่พัฒนารหัสตรวจจับสกุลเงินในนามของกลุ่มธนาคารกลางเพื่อการป้องกันการผลิตเงินปลอม ( CBCDG) ซึ่ง การตรวจจับลายน้ำเหล่านี้ ถือเป็น “ทางเลือก” ของ Adobe และ ไม่สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดหรือรายละเอียดของอัลกอริทึมได้
อ่านเพิ่ม https://www.sec.gov/Archives/edgar/data/1089443/0000929624-99-002034.txt
https://helpx.adobe.com/photoshop/cds.html
ต้องเข้าใจก่อนว่า การป้องกันการปลอมแปลงธนบัตร มันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเทคโนโลยีการปลอมแปลง คือฝ่ายหนึ่งสร้างเทคโนโลยีเพื่อทำสำเนา อีกฝ่ายหนึ่งก็สร้างเทคโนโลยีป้องกันการทำสำเนา อีกฝ่ายก็หาวิธีเจาะการป้องกันทำสำเนา อีกฝ่ายก็ต้องคิดรูปแบบใหม่ในการป้องกัน เป็นวังวนแบบนี้กันเรื่อย ๆ
ดังนั้นถ้าจะบอกว่า ธนบัตรที่ไม่มี กลุ่มดาวยูไรอัน คือธนบัตรที่ไม่ปลอดภัย เป็นเรื่องไม่จริง เพราะมันมีวิธีการป้องกันในรูปแบบอื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน ตั้งแต่ชนิดของกระดาษ ที่เป็นแบบพิเศษ ลายน้ำโปร่งแสงหมึกแม่เหล็ก 3 มิติที่เคลื่อนไหวได้ หมึกพิเศษที่เปลี่ยนสี หมึกพิเศษที่เรืองแสงภายใต้รังสีอัลตราไวโอเลต คือต้องใช้เทคโนโลยีหลายอย่างรวมกัน ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง
กลุ่มดาวยูไรอัน ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง หรือ ไม่ใช่ “สิ่งที่ต้องมี” ในการป้องกันการปลอมแปลง เพราะมันมีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ความพยายามทำสำเนาก็ใช้วิธีใหม่ ๆ มาเรื่อย ๆ การที่ มี หรือ ไม่มี ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการต้านการปลอมแปลง เพราะสมัยที่ออกแบบมานั้น แค่ป้องกันการทำสำเนาโดยเครื่องถ่ายเอกสารในสำนักงานเป็นหลัก แต่ธนบัตรปลอมก็ออกมาได้เรื่อย ๆ เพราะโดยตัวของมันเองไม่สามารถยับยั้งคนที่ตั้งใจปลอมแปลงได้ ถ้าไม่เชื่อที่ DataRevol.com เล่าก็ลองอ่านที่
https://murdoch.is/projects/currency/
https://people.duke.edu/~ng46/collections/steg-currency-detection.htm
https://datagenetics.com/blog/september12015/index.html
น่าจะช่วยสนับสนุนข้อเท็จจริงนี้ได้ (ความจริงที่ DataRevol.com เชื่อก็เพราะหาอ่านบทความประมาณนี้แหละ)
สรุป
ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทุกวัน มิจฉาชีพมีความสามารถและเทคโนโลยีที่จะปลอมแปลงได้เรื่อย ๆ เทคโนโลยีการป้องกันปลอมแปลงธนบัตรนี้ บางส่วนเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าเรามีเทคโนโลยีและวิธีป้องกันอยู่นะ แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เก็บเป็นความลับ เพื่อสร้างความสับสนให้กับผู้ปลอมแปลง
ปัจจุบันมีคุณลักษณะด้านความปลอดภัยที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพอื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้งานอยู่
Discover more from Data Revol
Subscribe to get the latest posts sent to your email.