Attribute Table คือ ข้อมูลเชิงบรรยายใน GIS ที่จะทำงานควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ Spatial เคยเขียนถึง QGIS ไปครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งนี้จะพูดถึง ArcGIS หรือ ArcMap โดยเฉพาะ
Attribute Table ใน ArcGIS
สำหรับใน ArcMap เราเข้าถึง Attribute Table ด้วยการคลิกขวาที่ layer นั้น (ใน Table of Contents) แล้ว เลือก Open Attribute Table
สิ่งที่เปิดขึ้นมา ก็จะเป็นตารางข้อมูล ซึ่งแต่ละแถวจะผูกติดอยู่กับข้อมูล Spatial (polygon, polyline, or point) ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ อย่างเช่นตัวอย่างนี้ เมื่อคลิกเลือกที่ polygon หนึ่ง ก็จะเป็นการเลือกที่ Attribute Table ด้วยเช่นกัน โดย “แถว” ที่เลือกมานี้ก็คือ “Feature” ถ้าเป็นในระบบอื่น อาจจะใช้คำว่า Record หรือ ระเบียน หรือ Tuple
ในกรณีของ Vector แต่ละ feature นี้ 1 แถว จะมีความสำพันธ์กับ spatial ใด spatial หนึ่งเสมอ (ส่วน raster จะเป็นกลุ่ม pixel ซึ่งจะกล่าวถึงต่างหากอีกครั้งหนึ่ง) มาดูที่ตารางข้อมูลของ Vector แต่ละคอลัมน์เรียกว่า Field ซึ่งจะมีการตั้งชื่อไว้ (แนะนำให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ) ซึ่งจะไม่อนุญาตให้เว้นวรรค และจะต้องไม่ซ้ำกับ field อื่น
ข้อมูลที่อยู่ในแต่ละ field นี้ จะเป็น Case Sensitive หมายความว่า ถ้าบันทึกข้อมูลเป็น Bangkok จะถือเป็นคนละข้อมูลกับ bangkok ในกรณีที่มีการ filter หรือว่า search ด้วยคำว่า Bangkok ก็จะมาแต่ Bangkok เท่านั้น Feature ที่บันทึกเป็น bangkok จะไม่ได้แสดงผลมาด้วย เรื่องนี้ต้องจำเอาไว้ว่า ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะฉลาดและทำงานรวดเร็ว แต่มันทำงาน “ซื่อ ๆ” และตัวอักขระแต่ละตัวกำหนดด้วยโค้ตต่างกันไป ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กใช้โค้ดต่างกัน (เช่น ตัวอย่างในระบบ ASCIII) ดังนั้น คอมพิวเตอร์จะมอง Bangkok ต่างจาก bangkok แต่สายตามนุษย์อย่างเราท่านมองว่ามันเหมือนกัน
เมื่อท่านสร้าง shapefile ใหม่ จะมี 2 Field ที่จะกำหนดมาให้โดยอัตโนมัติ คือ shape ซึ่งจะระบุประเภท (geometry) ของ layer นั้น (เช่น point polyline หรือ polygon) กับอีก field จะเป็น FID ย่อมาจาก Feature Identifier สำหรับข้อมูลที่เป็น geometry สำหรับตารางที่ไม่ใช่ geometry จะเป็น OID ย่อมาจาก Object Identifier ทั้งตัว FID กับ OID นี่ใช้เป็นเป็นตัวคีย์หลักและจะเรียงลำดับเลขอัตโนมัติ เริ่มจาก 0 ไม่มีค่าซ้ำกันใน Field นี้ และไม่อนุญาตให้แก้ไข
ArcGIS จะเปิดให้เชื่อมข้อมูลในตารางเหล่านี้ได้ 2 แบบ คือ join (เอาไปต่อท้าย) กับ related (เลือกแสดงแถวที่เกี่ยวข้อง)
ปรับมุมมอง Attribute Table
บางครั้งที่เราอยากปรับเปลี่ยนมุมมองตาราง เช่น ปิด (ไม่ได้ลบ แค่ปิด) บาง field เพื่อจะโฟกัสเฉพาะเรื่อง ด้วยการคลิกขวาที่ layer นั้น (ใน Table of Contents) แล้ว เลือก property ดูที่ field ตรงนี้จะมีรายชื่อ field ทั้งหมดใน attribute นั้น ติ๊กถูกเพื่อเลือกให้มองเห็น หรือ ซ่อน และเมื่อเลือกที่ชื่อ field จะเห็นคุณลักษณะของ field นั้น
ปรับมุมมองในแผนที่
เราสามารถใช้ข้อมูลใน attribute ปรับปรุงหรือตกแต่ง feature โดยการ classify หรือ categorize ผ่าน symbology (เข้าจาก วยการคลิกขวาที่ layer นั้น (ใน Table of Contents) แล้ว เลือก property ดูที่ symbology เราสามารถปรับแต่งสี หรือ ขนาด ตามข้อมูลใน field
การเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอก
Attribute เหล่านี้ เก็บเป็นไฟล์ dBASE ซึ่งจะผูกติดกับ shapefiles แต่ท่านสามารถส่งออกจาก Option Menu ได้หลายแบบ เช่น dBASE หรือ INFO (เอาไปใช้ coverages) หรือ Text files รวมถึงส่งออกเป็น File Geodatabase หรือ ทำเป็น OLE DB
Identify
เราสามารถใช้เครื่องมือ identify อยู่ที่ tool bar เป็นวงกลมสีน้ำเงินมีสัญลักษณ์รูปตัว I ใช้เพื่อคลิกที่ feature ให้แสดงข้อมูล attribute ขึ้นมาดูได้เลยผ่านหน้าต่าง Identify ซึ่ง หน้าต่างนี้จะมีตัวอำนวยความสะดวกหลายอย่างเหมือนกัน เช่น บนสุด identify from: ตรงนี้เราคลิกเลือกได้ว่า จะเลือกจาก layer บนสุด หรือที่เลือก หรือ จะกำหนดชื่อ layer ก็ได้ มีประโยชน์มากเวลาที่ project นั้นมีหลาย layer
Discover more from Data Revol
Subscribe to get the latest posts sent to your email.