You are currently viewing ArcGIS Tutorial

ArcGIS Tutorial

ArcGIS Tutorial หรือเรื่องพื้นที่ฐานแรกเริ่มโดยเน้นไปที่การทำงานกับ ArcMap จาก ArcGIS 10 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ย่อยตัวชูโรงของ ESRI ใช้งานไม่ยากและก็ไม่ง่ายเพราะมีอะไรจุกจิกมากมายเหมือนกัน เท่าที่ลองใช้งานด้วยตัวเองเทียบกับ QGIS แล้ว QGIS ใช้งานง่ายกว่า ขณะเดียวกัน ArcMap ก็มีรายละเอียดให้เล่นมากกว่าเช่นกัน

เรื่องพื้นฐานควรจะทำได้ก็ต้องเป็นเรื่องการจัดทำแผนที่ การนำเข้าแผนที่ซึ่งสแกนมา การนำเข้า shapefile แสดงข้อมูลต่าง ๆ แต่ก่อนอื่น ควรทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐาน เพื่อลดปัญหาที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง Datum เริ่มกันที่เรื่องพื้นฐานเลย คือเปิด ArcMap ขึ้นมา

บางท่านมีปัญหา ลง ArcGIS 10 ไม่ได้ โปรดลองอ่านบล็อกเก่า

หมายเหตุ ปัจจุบัน ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ใช้ ArcGIS Pro ซึ่งใช้ Python 3 ไม่ใช่ Python 2 อย่าง ArcGIS 10 แต่เนื่องจากที่ทำงานมี licence ของ ArcGIS 10 อยู่ จึงยังใช้เวอร์ชันนี้ แต่หลักการทำงานจะไม่ต่างกันมาก

ArcGIS Tutorial

เปิด ArcMap

ความจริงอันนี้ไม่น่าเขียนถึงเลย แต่เอาซะหน่อยให้รู้สึกว่าเป็นงานเป็นการ สำหรับตัวอย่างนี้ใช้ Windows 7 คลิกปุ่มรูปสัญลักษณ์ Windows > All Programs> ArcGIS > ArcMap

ArcGIS Tutorial

สร้าง Project

เมื่อเปิด ArcMap แล้วหน้าต่าง ArcMap: Getting Started จะเปิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (ถ้าไม่ต้องการให้หน้าต่างนี้เกิดขึ้นมาอีกให้ติ๊กที่ Do not show this dialog in the future) โดยปกติจะใช้ Blank Template (แต่จะใช้อย่างอื่นก็ได้หากต้องการ)

(หมายเหตุ ช่องด้านล่างจะเป็น geodatabase ซึ่ง ArcGIS จะสร้างมาให้โดยอัตโนมัติ หากต้องการเปลี่ยน default geodatabase ก็สร้างขึ้นใหม่ได้)

ArcGIS Tutorial

เมื่อเปิดแผนที่ขึ้นมาจะเห็นหน้าต่างแบ่งเป็นสองฝั่ง ฝั่งซ้ายคือ Table of Contents จะบอกเราว่าในแผนที่ที่เราทำงานอยู่นั้นมีข้อมูลกี่ชั้น อะไรบ้าง ส่วนทางฝั่งขวามือคือ Data View คือบริเวณที่จะแสดงแผนที่และข้อมูล

ตั้ง Relate Path

การเลือก Relate Path จะไปที่ File>Map Document Properties

ArcGIS Tutorial

Relate Path ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่มันช่วยประหยัดเวลาและลดปัญหาจุกจิกได้มากในกรณีทีต้องย้ายโฟลเดอร์บรรจุไฟล์งานของ ArcGIS เพราะถ้าเราไม่ตั้ง Relate Path ไว้ ตัวโปรแกรม ArcGIS จะจดจำตำแหน่งที่ตั้งไฟล์อย่างเช่น c:\Users\PC\Documents\ArcGIS\Grid\rivers.shp ถ้าเราย้ายไดเร็กทอรี่ArcGIS ไปไว้ตำแหน่งอื่น เช่นย้ายไปไดร์ฟ D หรือเอา external harddisk โปรแกรม ArcGIS จะหาไฟล์พรrivers.shp ไม่เจอ เพราะจำตำแหน่งที่ตั้งแบบคงที่

การใช้ Relate Path จะช่วยให้โปรแกรม ArcGIS จำเพียงโฟลเดอร์ที่เก็บทั้งหมด (มีข้อแม้ว่าเราต้องเก็บทั้งหมดไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน โดยจะใส่โฟลเดอร์ย่อยเท่าใดก็ได้) เมื่อเราย้ายโฟลเดอร์ที่เก็บทั้งหมดนั้นไปที่ไหน ก็จะยังหาไฟล์เจอ เช่นในกรณีนี้โปรแกรมจะจำตำแหน่งแค่ ArcGIS\Grid\rivers.shp

กรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ การทำแบบนี้จะช่วยลดปัญหาได้มาก

สิ่งสำคัญที่ต้องจำก็คือ ไฟล์ที่เป็นโปรเจ็ทค์ จะต้องอยู่ในโฟลเดอร์หลักที่เราเก็บไฟล์ด้วย ไฟล์โปรเจ็คท์จะเป็นนามสกุล .mxd

อย่าลืม หลักสำคัญคือ ควรจะสร้างโฟลเดอร์ต่างหากขึ้นมา 1 โฟลเดอร์ซึ่งจะเก็บไฟล์ที่ใช้งานไว้ในโฟลเดอร์นี้ จะจัดระเบียบโดยเพิ่มโฟลเดอร์ย่อยเท่าใดก็ได้ แต่ไฟล์โปรเจ็ทค์ควรจจะอยู่ในโฟลเดอร์หลัก

ตั้ง Data Frame Properties

สิ่งที่ควรจะทำเป็นอันดับแรก ๆ คือการตั้งค่า Coordinate System เพื่อกำหนดค่าพิกัดของแผนที่ การตั้งค่า Coordinate System จะอยู่ใน Data Frame Properties

ArcGIS Tutorial

วิธีเรียกหน้าต่าง Data Frame Properties มีหลายวิธี เช่น ดับเบิ้ลคลิกที่ชั้น Layers ในหน้าต่าง Table of Contents หรือคลิกขวาที่ชั้น Layers แล้วเลือก Properties หรือจะไปที่เมนู View > Data Frame Properties ก็ได้

ที่แท็บ Coordinate System เลือก Predefined > Project Coordinate System > UTM > ASIA > Indian 1975 UTM Zone 47 N (หมายเหตุ เลือก  Indian 1975 UTM Zone 47 N เพื่อให้สะดวกกับการกำหนดระวาง UTM ของกรมที่ดิน หากต้องการใช้งานกับ Google หรือ อื่น ๆ ให้เปลี่ยนตามที่ต้องใช้)

ArcGIS Tutorial ในตอนอื่น ๆ จะพูดถึงอีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อไป

สำหรับ Coordinate System มีรายละเอียดที่ต้องพูดถึงเป็นพิเศษ เพราะเท่าที่พบมา ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดเพราะคนใช้งานไม่มีความเข้าใจเรื่อง Coordinate System ส่งผลให้การทำงานล่าช้า ผิดพลาดอย่างที่ไม่ควรจะเป็น