WordPress.org vs WP Engine

WordPress โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ฟรี ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก กำลังมีประเด็นปัญหาที่เปิดโดย Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress และ ซีอีโอของ Automattic กับ WP Engine ซึ่งเป็นโฮสต์เว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress

Continue reading “WordPress.org vs WP Engine”

Compact GeoDatabase

Compact GeoDatabase คืออะไร? จำเป็นหรือไม่? วันนี้เราจะมาพูดถึงเครื่องมืออย่างหนึ่งในซอฟต์แวร์ ArcGIS Pro นั่นคือการ “ทำความสะอาด” หรือ “จัดระเบียบ” GeoDatabase ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งานที่สุด

ไม่ต้องกังวลหากฟังดูซับซ้อน เราจะอธิบายทีละขั้นตอน!

Continue reading “Compact GeoDatabase”

Number of shapes does not match the number of table records กับ 2 วิธีแก้ปัญหา

Number of shapes does not match the number of table records. คำเตือนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อนำเชพไฟล์มาเปิดใน ArcGIS เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ บล็อกนี้จะอธิบายว่าข้อผิดพลาดนี้เกิดจากอะไร และจัดการแก้ปัญหานี้อย่างไร

Continue reading “Number of shapes does not match the number of table records กับ 2 วิธีแก้ปัญหา”

pip install, Mac.

pip install ใน MacOs ต้องทำอย่างไร? PIP คือระบบการจัดการแพ็กเกจที่ใช้ในการติดตั้งและจัดการแพ็กเกจซอฟต์แวร์/ไลบรารีที่เขียนด้วยภาษาไพธอน ไฟล์เหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้ใน on-line repository หรือ พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Python Package Index (PyPI)  ซึ่งเปิดให้ทุกคนเข้าถึงแพ็คเกจ โดยใช้วิธีติดตั้ง PIP ที่ง่ายแสนง่าย

ในบล็อกนี้ จะอธิบายวิธีการติดตั้ง PIP บนเครื่องแม็ค

ไพธอนในแม็ค

โดยปกติ เมื่อท่านใช้ MacOS ก็จะมีไพธอนลงมาให้เรียบร้อยโดยไม่ต้องทำอะไร ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ว่ามีไพธอนติดตั้งอยู่หรือไม่ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

เปิด Terminal วิธีที่ง่ายที่สุดคือ พิมพ์ Terminal ที่สัญลักษณ์รูปแว่นขยาย หรือไม่เช่นนั้นก็จะอยู่ที่ utilities >> Terminal

เมื่อหน้าต่าง Terminal เปิดขึ้นมาแล้ว ให้พิมพ์ 

python3 –-version

แล้วเคาะ Return

ถ้ามีไพธอนอยู่แล้ว ก็จะขึ้นหมายเลขเวอร์ชันให้เห็น ไม่เช่นนั้นจะขึ้น Command not found ก็หมายความว่าไม่มีไพธอนในเครื่องนี้ โปรดไปที่เว็บไซต์ทางการของไพธอนและดาวน์โหลดแพ็กเกจไพธอนมาติดตั้งในเครื่องของท่านเสียก่อน

PIP

หลังจากตรวจสอบว่าไม่ไพธอนติดตั้งในเครื่องแล้ว ตามปกติ ถ้าลงไพธอน 3 ก็จะมี PIP มาให้พร้อมกันอยู่แล้ว แต่เพื่อความมั่นใจ เรามาเช็คว่ามี PIP ติดตั้งพร้อมใช้งานแล้วหรือยัง

ขั้นตอนก็ไม่ต่างจากตรวจสอบว่ามีไพธอนติดตั้งหรือไม่ นั่นคือ

เปิด Terminal app แล้วพิมพ์

pip3 --version

แล้วเคาะ Return

ถ้ามี PIP ติดตั้งอยู่แล้ว ก็จะมีเลขเวอร์ชันให้เห็น ถ้าเห็นว่าเป็น  pip not found ก็หมายความว่ายังไม่มี PIP ติดตั้งอยู่ (ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นถ้าหากท่านติดตั้งไพธอน 3 ตามวิธีทั่วไป)

ซึ่งเราอาจจะลงซ้ำอีกครั้ง โดยการเปิด Terminal appอีกครั้ง แล้วพิมพ์

python3 -m ensurepip

เคาะ Return

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็ควรจะติดตั้งไปจนสำเร็จเสร็จสิ้น

การอัปเดต PIP

หากต้องการอัปเดต PIP ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด ให้เปิด Terminal app แล้วพิมพ์ดังต่อไปนี้

python3 -m pip install --upgrade pip

เคาะ Return แล้วก็รอให้เสร็จ

ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องติดตั้ง ในเวอร์ชันเฉพาะเจาะจง สมมติเช่น ต้องการ  pip เวอร์ชัน 1.2.1 ให้พิมพ์แบบนี้แทน

pip install --upgrade pip==1.2.1

ถ้าต้องการถอนการติดตั้ง เพื่อจะได้ลงใหม่แบบสะอาด ๆ ให้พิมพ์ดังนี้

pip uninstall pip

หรือในบางครั้ง ท่านอาจจะต้องใช้คำสั่งต่อไปนี้แทน

sudo apt-get remove python-pip

การติดตั้งแพ็กเกจ (pip install)

ถ้ามี pip ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งแพ็กเกจต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องง่าย อย่างเช่นเราจะติดตั้งแพ็กเกจ mkdocs เราก็พิมพ์ไปง่าย ๆ ดังนี้ 

pip install mkdocs

เพียงเท่านี้เองสาธุชน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด (ซึ่งก็ไม่ควรมีอะไรผิดพลาด มันก็ควรจะสำเร็จลงได้ด้วยดี

อ่านเพิ่มเติม python

Notion

Notion เป็นแอปพลิเคชันหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในหมวดหมู่ Note-Taking หรือประเภทการบันทึกข้อความ และบล็อกนี้จะแนะนำให้รู้จักแอปพลิเคชันตัวนี้

Continue reading “Notion”

Build Virtual Raster กับ Merge ต่างกันอย่างไร

ไปเห็นคำถามว่า Build Virtual Raster กับ Merge ต่างกันอย่างไร ทำไมคนถึงนิยมใช้คำสั่ง Merge มากกว่า 

Continue reading “Build Virtual Raster กับ Merge ต่างกันอย่างไร”

คำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล

ทำความรู้จักคำศัพท์พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลหรือ database ก่อนเริ่มเรียนรู้เรื่องต่าง  ๆ เกี่ยวกับฐานข้อมูล

Continue reading “คำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล”

GTD: 5 ขั้นตอนบริหารเวลา

ท่านมักจะเลื่อนงานออกไปจนถึงนาทีสุดท้ายหรือไม่? นอนไม่หลับตอนกลางคืนและกังวลกับการนัดหมายที่กำลังจะมาถึงหรือไม่? รู้สึกหนักใจกับกำหนดงานต่าง ๆ หรือไม่? ถ้าใช่ บางทีท่านอาจสนใจระบบการจัดการตนเองของ Getting Things Done

GDT – Getting Things Done คืออะไร?

Getting Things Done (GTD) คือระบบการจัดการเวลาและประสิทธิภาพการทำงาน คิดค้นโดย David Allen และนำเสนอไว้ในหนังสือชื่อเดียวกันของเขา ‘Getting Things Done’ ในปี ค.ศ. 2001 มีผู้ติดตามนับล้านทั่วโลกนับตั้งแต่หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์จำหน่าย

อ้างอิงวิกิพีเดีย https://en.wikipedia.org/wiki/Getting_Things_Done

เว็บไซต์ทางการ https://gettingthingsdone.com/

David Allen อ้างว่า ระบบนี้จะช่วยให้ท่านทำงานให้เสร็จสิ้นและมีประสิทธิภาพ

The 5 steps of the GTD method

ระบบนี้จำเป็นต้องใช้เวลาและความคิดในการตั้งค่าครั้งแรก และจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าหากใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องกังวลกับการลืมกำหนดเวลาหรือพลาดงานสำคัญอีกต่อไป

วิธี GTD ประกอบด้วยห้าขั้นตอน แต่ก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป แต่ข้อดีคือไม่ต้องการเครื่องมือหรือแอป หรือผลิตภัณฑ์เฉพาะ เราดัดแปลงกรรมวิธีให้เข้ากับสิ่งที่เราถนัดได้สบาย กุญแจสำคัญคือการทำให้มันเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และใช้งานบ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ดังนั้น จงเลือกเครื่องมือที่มีความหลากหลายเพียงพอที่จะจัดการกับงานที่ซับซ้อนที่สุดของท่าน แต่ยังเรียบง่ายพอที่จะบำรุงรักษาได้อย่างสะดวกง่ายดาย

ส่วนที่เหลือขอบล็อกนี้จะครอบคลุมข้อมูลเฉพาะของแนวทางปฏิบัติทั้งห้าข้อ ขอย้ำอีกครั้งว่าหลักการเดียวกันนี้ใช้งานได้ ไม่ว่าท่านจะใช้เครื่องมือใดก็ตาม

Step 1: Capture

รวบรวมงาน การนัดหมาย และแนวคิดทั้งหมดของคุณไว้ในกล่องจดหมาย -ไม่ได้หมายถึงกล่องจดหมายจริง ๆ แต่หมายถึง แหล่งรวมสิ่งที่เข้ามา กล่องจดหมายอาจเป็นระบบอะไรสักอย่าง อาจจะเป็นโน้ตจดบันทึก หรือ แม้แต่เขียนลงสมุดเลยก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่วิถีชีวิตของแต่ละคนว่าต้องการใช้ชีวิตภาคดิจิทัลหรือว่าจะใช้เป็นรูปธรรมจับต้องได้

ดังนั้น ไม่ว่าท่านจะใช้ inbox ในอีเมล หรือว่าใช้แอปเช่น Evernote หรือ OneNote หรือจะตั้งแฟ้มทำเป็นเอกสารกระดาษ อะไรก็ได้ทั้งนั้น

เราจะใช้สิ่งนี้เพื่อเพิ่มรายการของงาน การนัดหมาย แนวคิด ข้อสังเกตต่าง ๆ ลงในกล่องจดหมายนี้

ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาไม่เกินสองสามนาที

Step 2: Clarify

ขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่ง ของแนวคิดนี้ก็คือ ต้องตรวจสอบและประมวลผลทุกสิ่งที่เข้ามาในกล่องจดหมาย หมายความว่าท่านต้องตัดสินใจว่าสิ่งต่าง ๆ อยู่ที่ไหนในระบบ Getting Things Done ถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้สำหรับแต่ละรายการ:

  • เป็นงานประเภทไหน?
  • รายการนี้มีความหมายกับตัวท่านอย่างไร?
  • ดำเนินการได้เลยหรือไม่?
  • ทำในเวลาไม่ถึงสองนาทีหรือไม่?
  • การดำเนินการต่อไปคืออะไร?

Step 3: Organize

ขั้นตอนนี้ จะต่อเนื่องจากขั้นตอนที่ 2 จะใช้คำตอบที่ได้จากขั้นตอน Clarify เพื่อจับรายการในกล่องจดหมายไปยังปลายทางที่ถูกต้อง

จากขั้นตอนที่ 2 เราจะมีงานที่ต้องทำแบ่งเป็น 2 ข้อ คือ งานที่ทำไม่ได้ (หรือไม่เกี่ยวกับตัวท่าน) กับงานที่ต้องทำต่อ

หากเป็นสิ่งที่ไม่สามารถดำเนินการใดใดได้ หรือไม่จำเป็นต้องทำอะไรกับสิ่งนั้น ให้เลือกหนึ่งในสามตัวเลือก:

  • ทิ้งมันลงถังขยะซะ!
  • วางไว้ในรายการ ‘อาจจะ/สักวันหนึ่ง’
  • เก็บไว้เพื่อใช้อ้างอิง

หากเป็นสิ่งที่ดำเนินการได้ หรือสิ่งที่ต้องทำ ให้พิจารณาตามข้อต่อไปนี้:

ทำได้ในสองนาทีหรือไม่?

รายการอะไรที่ทำได้ในเวลาไม่ถึงสองนาที จัดการทำมันเลย!

ปฏิทิน

รายการที่มีวันที่/เวลาที่เฉพาะเจาะจงที่ต้องทำ (เช่นการนัดหมาย) ให้กำหนดวันในปฏิทิน ตรงนี้ อยากให้คิดว่า เราจะทำในปฏิทินเรื่องการนัดหมายเท่านั้น เช่น ประชุม

สิ่งที่ต้องทำ

เป็นภารกิจที่เราต้องจัดการต่อไป หากภารกิจนั้นมีรายละเอียดมาก ให้แบ่งย่อยเป็นงานเล็ก ๆ งานใด ๆ ที่ต้องทำมากกว่า 1 อย่าง หรือ 1 กระบวนการ ให้แบ่งย่อยเป็นภารกิจเล็ก ๆ วางภารกิจทั้งหมดในรายการสิ่งที่ต้องตรวจสอบเป็นประจำ จากนั้นกำหนดการกระทำต่อไปสำหรับภารกิจต่าง ๆ และกำหนดเวลาเฉพาะในปฏิทิน

รอ

รายการนี้มีไว้สำหรับรายการที่ได้รับมอบหมายหรือรายการที่ต้องรอทำต่อจากบุคคลอื่น

สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อตรวจสอบกล่องจดหมายแล้ว อย่าปล่อยวางสิ่งใดไว้ในกล่องจดหมายอีก ให้ตัดสินใจว่าแต่ละรายการจะไปอยู่ที่ไหน

Step 4: Reflect

หลังจากจัดระเบียบแล้ว เราต้องมาตรวจสอบให้แน่ใจว่าทำทุกอย่างเสร็จในเวลาที่กำหนด ท่านจะต้องตรวจสอบความคืบหน้าเป็นประจำ โดยทั่วไป แนะนำให้ตรวจสอบปฏิทินและรายการสิ่งที่ต้องทำอย่างน้อยวันละครั้งเพื่อเลือกงานต่อไปของคุณ ล้างกล่องจดหมายวันละครั้ง ตรวจสอบการทำงานของท่านสัปดาห์ละครั้ง

ลองใช้หัวข้อเหล่านี้เป็นขั้นตอนการตรวจสอบสิ่งที่ทำ:

บันทึกสิ่งที่ทำ: เขียนความคิดทั้งหมดที่ท่านมีในแต่ละงาน เพื่อเป็นการพิจารณาว่าที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างเหมาะสม หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาการทำงานอะไรหรือไม่ มีจุดอ่อนตรงไหน

สิ่งที่ต้องทำ: มีงานอะไรรอบอยู่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า?

รายการภารกิจ: ภารกิจเสร็จสิ้นหรือติดขัดตรงไหน ขั้นตอนใด

อาจจะ/สักวัน: ตอนนี้ถึงเวลาที่จะหยิบสิ่งที่อาจจะทำ หรือ สักวันจะทำ มาทำในวันนี้แล้วหรือยัง?

ปฏิทิน: คุณได้นัดหมายทั้งหมดหรือไม่? การนัดหมายที่กำลังจะมาถึงของคุณคืออะไร? คุณเข้าสู่การนัดหมายทั้งหมดหรือไม่?

รอ: สถานะปัจจุบันของสิ่งที่รอจะทำต่อคืออะไร นั่นอาจจะหมายถึงต้องนำมาทำต่อไป หรือ อาจจะต้องติดตามงานที่ยังมาไม่ถึงมือหากจำเป็น

Step 5: Engage – ทำ

สำหรับแนวทางสี่ประการในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป จะประกอบด้วย บริบท เวลาที่มีอยู่ พลังงานที่มีอยู่ และลำดับความสำคัญ

Context, time available, energy available and priority.

Context – บริบท

เนื่องจากชีวิตคนเราจะมีบริบทที่แตกต่างกันมากมายในชีวิต หมายถึง เรื่องงาน เรื่องครอบครัว เรื่องงานอดิเรก เรื่องความบันเทิง ฯลฯ รายการภารกิจที่ต้องทำ จึงต้องขึ้นอยู่กับบริบทที่เกี่ยวข้องด้วย ลองพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้

อยู่ในบริบทอะไร?

ตอนนี้ทำอะไรได้บ้าง?

ถ้าคุณกำลังดื่มด่ำบรรยากาศในวันพักผ่อนที่มัลดิฟ จะไปช็อปปิ้งในตลาดท่าเรือคลองเตยก็คงเป็นไปไม่ได้

Time Available – เวลาที่มี

ตอนนี้มีเวลาเท่าไหร่? หากมีเวลาว่างเพียง 15 นาที ก็ไม่ควรเริ่มงานที่อาจจะต้องใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง

Energy Available – พลังและความตั้งใจ

คนเราก็ไม่ได้มีพลังเต็มเปี่ยมตลอดทั้งวันใช่หรือไม่? เชื่อว่าท่านก็น่าจะเป็นเหมือนกัน นั่นคือ จะมีบางช่วงเวลาที่รู้สึกเหนื่อยล้าหมดพลัง บางช่วงที่มีพลังเต็มที่พร้อมชนทุกอย่าง การกำหนดเวลางานที่ต้องใช้สมาธิและประสิทธิภาพเต็มรูปแบบจึงต้องสอดคล้องกับพลังของท่านในแต่ละวันด้วย อาจเตรียมการนำเสนอที่สำคัญในตอนเช้ามากกว่าในช่วงบ่ายที่เริ่มง่วงนอน หรือในทางกลับกัน ท่านอาจจะกระฉับกระเฉงในตอนบ่าย ก็ไม่ควรทำอะไรที่ต้องใช้สมาธิมากนักในตอนเช้า

Priority – ความสำคัญ

เมื่อพิจารณาแนวทางทั้ง 3 ประการข้างต้นแล้ว หากทุกอย่างเหมาะสมลงตัว เราจึงมาสนใจว่าภารกิจใดสำคัญกว่า ให้เริ่มทำภารกิจนั้นก่อน

คำแนะนำ

ประสิทธิภาพจะขึ้นกับตัวท่านเอง ความรับผิดชอบและการปฏิบัติสม่ำเสมอคือหนทางแห่งความสำเร็จ วิธีการนี้ต้องการการดูแลรักษาและทำอย่างต่อเนื่อง แนวคิดพื้นฐาน คือการระบุงานทั้งหมดของเป็นภารกิจหรือโปรเจ็กต์ย่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าท่านจะไม่ลืมสิ่งใดเลย ในระยะยาวจะช่วยให้เครียดน้อยลงเพราะไม่ต้องจำทุกอย่าง และเนื่องจากไม่จำเป็นต้องจำงานสำคัญ ๆ อยู่ตลอดเวลา ท่านก็สามารถตั้งสมาธิไปยังงานที่ทำอยู่ได้ดีขึ้น เพราะไม่มีอะไรรบกวนจิตใจให้เสียสมาธิ

ในวิธีนี้ (และเหมือนอีกหลายวิธี เช่น PARA) จะแบ่งงานใหญ่ออกเป็นงานย่อย และกำหนดกำหนดเวลาเฉพาะสำหรับงานเหล่านั้น การตรวจสอบเป็นประจำช่วยให้แน่ใจว่าจะติดตามงานและโครงการทั้งหมด เพื่อให้กลับมาพิจารณาจุดอ่อนในระบบ และทำการปรับปรุง

The PARA Method: การจัดระเบียบด้วยจัด 4 หมวดหมู่

PARA เป็นระบบที่คิดค้นโดย Tiago Forte เพื่อจัดระเบียบทุกอย่างให้ง่ายดาย

ทำไมต้องจัดระเบียบ? DataRevol.com เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่หมกมุ่นอยู่กับการจัดหมวดหมู่และจัดลิสต์ต่าง ๆ ซึ่งบางทีนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการและการเรียนรู้ที่ช่วยให้มนุษย์พัฒนาตัวเองจนครองโลกเหนือสัตว์ชนิดอื่น

Continue reading “The PARA Method: การจัดระเบียบด้วยจัด 4 หมวดหมู่”

Goodbye Evernote

Evernote แอปโน้ตจดบันทึกระดับแนวหน้าที่เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น แต่ผู้ใช้งานก็ยังมีจำนวนมากเป็นอันดับ 1

แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำให้ DataRevol.com คงต้องเลิกใช้ซอฟต์แวร์นี้ หันไปใช้งานซอฟต์แวร์อื่นแทน

Continue reading “Goodbye Evernote”
Exit mobile version